การนับจำนวนแคลลอรี่

      สำหรับบางคนที่ต้องการลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่ก็คือจะเคร่งคัดมากไม่ว่าจะกินข้าวหรือซื้ออะไรกินก็ต้องดูตามฉลากอาหาร ซึ่งการคำนวณพลังงานในอาหารนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในจานนั้นนั้นอาหารไทยที่ขายเป็นจานทั่วไปมีความหลากหลายของปริมาณสูง

เพราะแต่ละร้านในการตักอาหารมีปริมาณที่ไม่ได้เท่ากันทุกร้านในแต่ละเว็บที่ใช้คำนวณแคลอรี่ออกมาก็เอามาจากอีกร้านหนึ่งจึงยากที่จะได้แคลอรี่ที่แท้จริง การมองแล้วกะด้วยตาเปล่าก็ยากมากหรือแม้แต่นักกำหนดอาหารมืออาชีพเองก็ยังมีวิจัยพบว่าประเมินผิดพลาดได้มากการลดน้ำหนักโดยการคำนวณแคลอรี่อย่างเคร่งครัด

จึงปฏิบัติจริงได้ยาก หน่วยของพลังงานในอาหารจริงๆแล้วต้องเรียกว่า กิโลแคลอรี แต่ได้มีการใช้คำว่าแคลอรี่กันอย่างกว้างขวางจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับกันทุกองค์การจึงถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดแต่เวลาเขียนย่อควรเขียนว่า kcal , Cal ไม่ใช่ cal เพื่อป้องกันการสับสน 

      ที่มาของการหมกมุ่นนับคำนวณแคลอรี่ในอาหารนั้นเริ่มมาจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่าวิลเบอร์ แอตวอเทอร์ ได้ค้นพบว่าเมื่อนำอาหารใส่ลงไปในเครื่อง Bomb Calorimeter แล้วก่อให้เกิดการเผาไม่จะสามารถวัดพลังงานความร้อนที่ได้จากอาหารแต่ละประเภทบันทึกเป็นหน่วยกิโลแคลอรี่เพื่อใช้ประโยชน์ในการเปรียบเทียบพลังงานที่ได้จากอาหารประเภทต่างๆ

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหนังสือลดน้ำหนักเกือบทุกเล่มจะต้องมุ่งเน้นไปที่การคำนวณแคลอรี่และจำกัดแคลอรี่ทั้งที่จริงแล้วนั้นการลดน้ำหนักที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่แคลอรี่เข้าหรือแคลอรี่ออกเท่านั้น แต่อยู่ที่ปัจจัยอื่นๆอีกมากมายการลดโดยมุ่งคำนวณแคลอรี่อย่างเดียวจึงได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างและไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการลดน้ำหนัก 

      ตัวเลขแคลลอรี่ที่ระบุไว้บนฉลากอาหารเชื่อถือได้ประมาณหนึ่งแต่อย่าลืมดูจำนวนหน่วยบริโภคด้วย เช่น ถ้าระบุว่าหนึ่งหน่วยบริโภค = 1/2 ถ้วย นั่นแสดงว่าเราจะรับประทานได้แค่ครึ่งถ้วยเท่านั้นหากรับประทานเต็มถ้วยหนึ่งถ้วยแคลอรี่ที่แสดงบนฉลากต้องนำมาคูณสอง

การจำกัดแคลอรี่มากเกินไปไม่ใช่ทางออกของการลดน้ำหนักโดยเฉพาะการรับประทานอาหารแบบมื้อเช้าคือกาแฟและแคร็กเกอร์นั้นถือว่าน้อยเกินไปและไม่มีประโยชน์ส่วนมื้อเย็นรับประทานแต่ผลเม้เราก็จะขาดโปรตีนดีการลดน้ำหนักที่ดีต้องรับประทานให้สมดุลย์มีทั้งแป้งเชิงซ้อนและโปรตีนดีในทุกๆมื้ออาหาร

 

สนับสนุนโดย  bk8